ชาติภูมิ
เจ้าพระคุณสมเด็จพระวันรัต มีนามเดิมว่า จับ เกิดในสกุล สุนทรมาศ บิดาชื่อ ผุด มารดา ชื่อ ร่ม เมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๙ ที่บ้านหมู่ ๒ ตำบลตะเครียะ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา มีพี่น้อง ๕ คน คือ
๑. นางเลื่อน ชมเชย
๒. นายจันทร์ สุนทรมาศ
๓. สมเด็จพระวันรัต
๔. เด็กชายจวน (ถึงแก่กรรมเมื่ออายุยังน้อย)
๕. นางผัด จันมา |
|
การศึกษาเมื่อปฐมวัย
การศึกษาของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ท่านได้เรียนได้เรียนอักษรสมัย ทั้งภาษาไทย และภาษาขอม ตามความนิยมในสมัยนั้น จากโยมบิดาของท่าน จนพออ่านออกเขียนได้ ต่อมาก็เข้าโรงเรียนในชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียนประชาบาล ที่วัดเกษตรชลธี จนจบหลักสูตรบริบูรณ์ |
|
บรรพชา
เมื่อเจ้าพระคุณสมเด็จฯ อายุได้ ๑๗ ปี มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา จึงเข้าบรรพชาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๖ ที่วัดตะเครียะ เมื่อบรรพชาแล้ว ได้เข้าศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกนักธรรม จนจบนักธรรมชั้นโท เมื่อจบนักธรรมชั้นโทแล้วก็ย้ายไปอยู่วัดประดู่หอม จังหวัดพัทลุง |
|
อุปสมบทและการศึกษา
เมื่ออายุได้ ๒๐ ปี ได้เข้าอุปสมบท ที่วัดศาลาหลวงล่าง จังหวัดสงขลา ได้ฉายาว่า ฐิตธมฺโม และได้ย้ายเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ ได้พักอยู่ที่วัดเขมาภิรตาราม จังหวัดนนทบุรี และได้ย้ายไปอยู่วัดพระยายัง และศึกษาอยู่ที่นั้น จนสอบได้ป.ธ. ๕ และนักธรรมชั้นเอก ต่อมาท่านได้ย้ายเข้ามาอาศัยอยู่กับพระพุทธวิริยากร ( จันทร์ จนฺทกนุโต) เจ้าอาวาสรูปที่ ๔ ของวัดโสมนัสวิหาร เมื่อได้มาอยู่ท่านก็ได้พากเพียร จนสามารถสอบได้ ป.ธ. ๙ ใน ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ |
|
เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ ๖ ของวัดโสมนัสวิหาร
เมื่อท่านเจ้าคุณพระสิริปัญญามุนี (เยี่ยม ตทุตฺตรสิริ) เจ้าอาวาสรูปที่ ๕ มรณภาพลง เมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๙ สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว. ชื่น สุจิตฺตมหาเถร เปรียญ ๙) ได้แต่งตั้ง พระมหาจับ ฐิตธมฺโม ป.ธ. ๙ เป็นรักษาการแทนเจ้าอาวาส ในวันที่ ๘ กุมพาพันธ์ ๒๔๘๙ ครั้นต่อมา ในวันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๑ ก็ได้รับการแต่งตั้ง เป็นเจ้าอาวาสวัดโสมนัสวิหาร และได้เป็นเจ้าอาวาส มาจนกระทั่งได้มรณภาพลง เมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ สิริรวมอายุได้ ๙๐ ปี และท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้เป็นเจ้าอาวาส ที่ครองวัดนี้นานที่สุดคือ เป็นระยะเวลา ๕๐ ปี |
|
สมณศักดิ์
เจ้าพระคุณสมเด็จพระวันรัต (จับ) เป็นอุปัชฌายาจารย์ ของกุลบุตรมากมาย ได้บำเพ็ญศาสนกิจประโยชน์เกื้อกูล ต่อพระศาสนาและประเทศชาติ เป็นอันมาก จนได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้ง ๒ พระองค์ คือ รัชกาลที่ ๘ และรัชกาลปัจจุบัน ตามลำดับดังนี้
๑. พระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ "พระอมรมุนี" เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๙.
๒. พระราชาคณะชั้นราช ที่ราชทิมนามเดิม คือ "พระอมรมุนี" เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๔.
๓. พระราชาคณะชั้นเทพ ที่ราชทินนามเดิม เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๖
๔. พระราชาคณะชั้นธรรม ที่ "พระธรรมวราลังการ" เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๐
๕. พระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัณยบัฏ ที่ "พระธรรมปัญญาจารย์" เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ .
๖. สมเด็จพระราชาคณะชั้นสุพรรณบัฏ ที่ "สมเด็จพระวันรัต" เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๐. |
|
ตำแหน่งหน้าที่
สมเด็จพระวันรัต (จับ) เป็นพระมหาเถระรูปหนึ่ง ที่ได้บำเพ็ญประโยชน์ ทางพระพุทธศาสนาไว้มาก ในที่นี้จะนำเฉพาะที่สำคัญมากดังนี้
๑. เป็นเจ้าอาวาสวัดโสมนัสวิหาร มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๑ จนถึง พ.ศ. ๒๕๓๙
๒. เป็นพระอุปัฌชาย์ ในปี พ.ศ. ๒๔๙๐
๓. เป็นกรรมการกองตำรา ของมหามกุฎราชวิทยาลัยมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๗ และเป็นเลขาธิการ กองตำรามหามกุฎราชวิทยาลัย ในปีพ.ศ. ๒๔๘๓
๔. ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้เป็นคณาจารย์ตรีทางรจนา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๘
๕. เป็นกรรมการที่ปรึกษาหนังสือธรรมจักษุ
๖. ไปร่วมสังคายนาพระธรรมวินัย อันเป็นฉัฏฐสังคายนา (สังคายนาครั้งที่ ๖) ในประเทศพม่า เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๗
๗.เป็นพระวินัยธรชั้นฎีกา ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔
๘. เป็นสมาชิกสังฆสภา (เทียบได้กับ ส.ส.) พ.ศ. ๒๔๘๔
๙. เป็นกรรมการมหามกุฎราชวิทยาลัย และกรรมการสภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัย
๑๐. เป็นเจ้าคณะภาค ๑๖-๑๗-๑๘ (ธรรมยุต) มาตั้งแต่ วันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๐๗
๑๑. เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม ติดต่อกันมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๒
๑๒. เป็นประธานกรรมการเถรสมาคม คณะธรรมยุตเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๖
๑๓. เป็นกรรมการพิจารณางบประมาณสาธารณสมบัติกลาง
๑๔. เป็นเจ้าสำนักเรียนวัดโสมนัสวิหาร
๑๕. เป็นผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดโสมนัสวิหารมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๗
๑๖. เป็นกรรมการตรวจบาลีสนามหลวง มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๗๘ และโดยเฉพาะเป็นกรรมการตรวจชั้น ป.ธ. ๙ มาเป็นเวลานาน
๑๗. รัฐบาลสหภาพเมียนมาร์ (พม่า) ถวายตำแหน่งอัครบัณฑิต ทางพระพุทธศาสนา ชื่อว่า AGGA MAHA PANDITA BADDANTA VANARATA (อัครมหาบัณฑิตภัททันตะวันรัต) เมื่อพ.ศ. ๒๕๓๕
ท่านถึงแก่มรณะกรรรมด้วยอาการอันสงบ เมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๙
|