โรคกรดไหลย้อน หรือ โรคการไหลย้อน จากกระเพาะอาหาร มาหลอดอาหาร (อังกฤษ: Gastroesophageal reflux disease, GERD) เป็นภาวะระยะยาว (เช่น มีอาการมากกว่า 2 ครั้งต่ออาทิตย์ เป็นเวลาหลายอาทิตย์) ที่สิ่งซึ่งอยู่ในกระเพาะอาหาร ไหลย้อนเข้าไปในหลอดอาหาร ซึ่งทนต่อกรดและเอนไซม์ ย่อยอาหารได้แค่ระดับหนึ่ง แล้วทำให้เกิดอาการต่าง ๆ หรือนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ อาการรวมทั้งเรอเปรี้ยว เรอขม คือ ได้รสกรด หรือรสขม ที่ใกล้ ๆ คอ แสบร้อนกลางอก/ยอดอก ปวดหน้าอก ลมหายใจเหม็น อาเจียน หายใจมีปัญหา เช่น หายใจไม่ออกเวลานอน หรือเจ็บคอ และฟันกร่อน. อาการอาจแย่ลง จนเกิดภาวะแทรกซ้อน รวมทั้งหลอดอาหารอักเสบ หลอดอาหารตีบ และเกิดเยื่อบุผิว เสี่ยงมะเร็งในหลอดอาหาร ซึ่งอย่างสุดท้ายพิจารณาว่า เป็นการเปลี่ยนแปลง ของเซลล์เยื่อบุหลอดอาหาร ก่อนจะเป็นมะเร็ง แล้วอาจกลายเป็นมะเร็ง ชนิดต่อม ซึ่งบ่อยมากทำให้เสียชีวิต. |
|
ปัจจัยเสี่ยง รวมทั้งโรคอ้วน การตั้งครรภ์ การสูบบุหรี่ การได้รับควันบุหรี่เป็นประจำ กระเพาะอาหาร เลื่อนผ่านกะบังลม (hiatus hernia) และการใช้ยาบางประเภท. ยาที่อาจมีบทบาท รวมทั้งสารต้านฮิสตามีน (เช่น ยาแก้แพ้ ยาลดน้ำมูก) แคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ ยาแก้ซึมเศร้า และยานอนหลับ. |
|
โรคมีเหตุจาก หูรูดหลอดอาหารด้านล่าง (ส่วนต่อระหว่างกระเพาะอาหาร และหลอดอาหาร) ปิดได้ไม่ดี คือ คลายตัวบ่อยเกิน. การวินิจฉัย สำหรับคนไข้ ที่ไม่ดีขึ้น ด้วยการตรวจรักษาปกติ อาจรวมการส่องกล้อง ตรวจทางเดินอาหารส่วนบน การกลืนแป้ง ถ่ายภาพรังสี และการวัดความเป็นกรดด่าง ในหลอดอาหาร |
|
โรคที่ไม่ได้รักษาดูแล สามารถทำความเสียหาย ต่อหลอดอาหาร อย่างถาวร การรักษาปกติ คือ ให้เปลี่ยนอาหาร พร้อมพฤติกรรมการใช้ยา หรือบางครั้ง การผ่าตัด. การเปลี่ยนพฤติกรรม อาจรวมไม่นอนในระยะ 2-3 ชม. หลังทานอาหาร, ลดน้ำหนัก, เลี่ยงอาหารบางประเภท, เลิกสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงควันบุหรี่. ยารวมทั้ง ยาลดกรด ยาต้านตัวรับเอช2 ยายับยั้งการหลั่งกรด (PPI) และยาเพิ่มการบีบตัว ของลำไส้เล็ก (prokinetics). การผ่าตัด อาจเป็นทางเลือกสำหรับคนไข้ ที่รักษาด้วยวิธีอื่น ๆ ไม่หาย. |
|
ประชากรประมาณ 7.4% ในประเทศไทย เป็นโรคนี้. ในเอเชีย อาจมีประชากร น้อยกว่า 5% ที่มีโรค. แต่ในโลกตะวันตก ประชากร ถึงระหว่าง 10-20% อาจมีโรคนี้. ถึงกระนั้น การมีกรดไหลย้อนธรรมดา (GER) เป็นบางครั้งบางคราว (คือมีอาการ 2 ครั้ง หรือน้อยกว่าต่ออาทิตย์) โดยไม่มีอาการ หรือภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ ก็เป็นเรื่องสามัญกว่า. โรคแม้จะไม่ร้ายแรง เหมือนกับโรคมะเร็ง หรือโรคหัวใจ แต่ก็ทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมาน ลดคุณภาพชีวิตอย่างมาก ทั้งในด้านร่างกาย และจิตใจ และลดประสิทธิภาพในการทำงาน. |
|
รายละเอียดของอาการนี้ ได้กล่าวถึงเป็นครั้งแรกในปี 1935 โดยแพทย์โรคทางเดินอาหาร ชาวอเมริกัน แต่อาการแบบคลาสสิก ก็กล่าวถึงตั้งแต่ปี 1925 แล้ว. |
|
ขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซด์วิกิพีเดีย |
|
กรดไหลย้อน วิธี รักษากรดไหลย้อน ให้หายขาด 5 เคล็ดลับ |
|
|
5 สาเหตุกรดไหลย้อน? ดูคลิปเดียวหาย!! 2019 วิธีรักษากรดไหลย้อนที่ต้นเหตุจริงๆ |
|
|